วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่อง รัฐสภาไทย





















รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา
(Parliamentary System) ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ (Bicameral
System)
คือรัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
มีสมาชิกรวมจำนวนทั้งสิ้น
630 คน

1. โครงสร้าง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกรัฐสภา
แบ่งนำเสนอโครงสร้าง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกรัฐสภา
เป็น 2 ส่วน ตามโครงสร้างของรัฐสภา ดังนี้


1.1 สภาผู้แทนราษฎร
ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนรวม 480 คน ดังนี้
ประเภทแรก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน
400 คน
ทั้งนี้

โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตละไม่เกิน 3 คน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง

ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น


ประเภทที่สอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน จำนวน 80 คน
ทั้งนี้ โดยแบ่งเขต เลือกตั้งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด

ให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และแต่ละเขตให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 10 คน ทั้งนี้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดทำบัญชีรายชื่อ
ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 เสียง


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณากำหนดเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
เป็น 157 เขต

ส่วนการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้น แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 8 เขต เลือกตั้ง ตามกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่ม


1.2 วุฒิสภา
ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนรวม 150 คน

ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน

เเละมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการ
เลือกตั้ง ดังนี้


ประเภทแรก สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
จังหวัดละ 1 คน ฉะนั้นเมื่อมีจังหวัด 76 จังหวัด จึงมีสมาชิกวุฒิสภาประเภทนี้
รวมจำนวน 76 คน
ประเภทที่สอง สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จำนวน 74 คน

ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อ

ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมมาจากการเสนอชื่อขององค์กรในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน

ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา

ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง


ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยประธาน
ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการ


ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขต
เลือกตั้งของแต่ละจังหวัดสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ลงวันที่ 17 ตุลาคม
พ.ศ.2550 และประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2550


ตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกามอบหมาย จำนวน 1 คน และตุลาการในศาลปกครองสงูสดุ ทที่ ปี่ ระชมุ ใหญศ่ าลปกครองสงูสดุ มอบหมาย จำนวน 1 คน 2
ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งกระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่ง
สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550
นอกจากมีความแตกต่างกันในส่วนของโครงสร้าง องค์ประกอบ และที่มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว

ในส่วนของคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ก็มีความแตกต่างกัน โดยสรุปแล้วรัฐธรรมนูญกำหนดให้
สมาชิกวุฒิสภามีคุณวุฒิสูงกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
ต้องไม่สังกัดหรือเกี่ยวข้อง หรือต้องเป็นอิสระและปลอดจากการเมือง ดังที่
ปรากฎในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ
บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนรา


1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียง


2. อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
แม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จะมีที่มาที่แตกต่างกัน

บางส่วนมาจากการสรรหาและแต่งตั้ง และแม้ในส่วนที่มาจากการเลือกตั้งก็เป็นการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็
แบ่งเป็น 2 แบบ คือการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและการเลือกตั้งแบบ
สัดส่วน ในขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาก็เป็นอีกระบบหนึ่ง
แต่รัฐธรรมนูญได้กำหนดรับรองสถานะของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ไม่ว่า
จะมาจากการเลือกตั้งในระบบใด หรือมิได้มาจากการเลือกตั้งก็ตาม ให้สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเป็น “ผู้แทนปวงชนชาวไทย”
ไม่อยู่ใน
ความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติ
หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ “สภาล่าง”
และ “สภาบน”
ได้อย่างสอดคล้องกับหลักการปกครองในระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไว้
แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 สภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎรในฐานะ “สภาล่าง” มีบทบาทอำนาจหน้าที่หลัก 4 ด้าน
ได้แก่


(1) ด้านนิติบัญญัติ
(2) ด้านควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน
(3) ด้านการเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย
(4) ด้านการพิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องต่างๆ

ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

(1) ด้านนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะเป็นสภาล่างมีอำนาจหน้าที่หลักใน
ด้านนิติบัญญัติ ดังนี้
(1.1) เสนอร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญ7 โดยที่
(1.1.1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
ร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้รัฐสภา
พิจารณาให้ความเห็นชอบได้
(1.1.2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน10ของจำนวน
สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

ทั้งนี้ กรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากนายกรัฐมนตรี
(1.2) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราช-
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราช-
บัญญัติและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 8
(1.3) พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด ซึ่งเมื่อมีการประกาศใช้
บังคับพระราชกำหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราช-กำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่อนุมัติ

พระราชกำหนดนั้นก็ตกไปโดยไม่ต้องส่งให้วุฒิสภาพิจารณา แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแล้วส่งให้วุฒิสภาพิจารณา วุฒิสภาไม่อนุมัติ ให้ส่งกลับไปยัง
สภาผู้แทนราษฎรเพื่อยืนยันการอนุมัติอีกครั้ง หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ให้พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป 9
(1.4) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 10
(1.4.1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิก



































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น