วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร"

เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325
ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพ ทราราวดีศรีอยุธยา (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")
สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น กรุงตั้งอยู่บริเวณแหลมยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงมาจาก
ทางเหนือ

ผ่านทางตะวันตกและใต้ก่อนที่จะมุ่งลงใต้สู่อ่าวไทย ทำให้กรุงดูคล้ายกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครตั้งแต่บางลำภูไปถึงวัดเลียบ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพเป็นเกาะสองชั้น คือส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวังกับส่วนระหว่างคูเมืองธนบุรี(คลองคูเมืองเดิม)กับคูพระนครใหม่ ในขณะเดียวกันได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พอประกอบพิธีแล้วจึงรื้อของเก่าออกและก่ออิฐถือปูน ส่วนกำแพงพระนครนั้น นำอิฐจากกรุงศรีอยุธยามาใช้สร้าง
กรุงรัตนโกสินทร์ถือว่ามีชัยภูมิชั้นเยี่ยมในการป้องกันศึกในสมัยนั้น คือพม่า ด้วยเนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางทางตะวันตก นอกจากนี้กรุงธนบุรีเดิมก็สามารถดัดแปลงเป็นค่ายรับศึกได้ แต่เหตุการณ์ที่พม่าเข้าเหยียบชานพระนครก็ไม่เคยเกิดขึ้นสักครั้ง เป็นที่สังเกตว่า การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นการลงหลักปักฐานของคนไทยอย่างเป็นทางการหลังกรุงแตก เพราะมีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรอย่างงดงามต่างจากสมัยธนบุรี ทั้งๆที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับพม่าครั้งใหญ่
กรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จจริงๆในปี พ.ศ. 2327 มีการสมโภชพระนครครั้งใหญ่ มีการลอกองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยามามากมาย เช่นวัดสุทัศน์แทนวัดพนัญเชิญ มีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น แต่กรุงรัตนโกสินทร์ถูกสร้างต่อมาจนสมบูรณ์หมดจริงๆ ในช่วงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลต่อมาจึงขยายพระนคร
การขยายพระนครนั้นเริ่มในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพง นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่หรือสมัยนั้นเรียกถนนตรง ทำให้ความเจริญออกไปพร้อมกับถนน สรุปได้ว่าในรัชกาลที่ 4 เมืองได้ขยายออกไปทางตะวันออก ในรัชกาลที่ 5 ความเจริญได้ตามถนนราชดำเนินไปทางเหนือพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น กำแพงเมืองต่างๆเริ่มถูกรื้อเนื่องจากความเจริญและศึกต่างๆเริ่มไม่มีแล้ว
หลังจาก ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสยกเรือรบมาถึงบางรัก ก็เป็นแค่ไม่กี่ครั้งที่ข้าศึกต่างชาติเข้าถึงชานพระนครได้ ความเจริญได้ตามไปพร้อมกับวังเจ้านายต่างๆนอกพระนคร ทุ่งต่างๆกลายเป็นเมือง และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เกิดสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก เป็นสะพานข้ามทางรถไฟชื่อสะพานพระรามหก จนถึงรัชกาลที่ 7 ฝั่งกรุงธนบุรีกับพระนครได้ถูกเชื่อมโดยสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ)ทำให้ประชาชนเกิดความสะดวกขึ้นมามาก หลังจากนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในรัชกาลที่ 8 พระนครถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรบ่อยครั้ง แต่พระบรมมหาราชวังปลอดภัยเนื่องจากทางเสรีไทยได้ระบุพิกัดพระบรมมหาราชวังมิให้มีการยิงระเบิด เมื่อสิ้นสงครามแล้วพระนครเริ่มพัฒนาแบบไม่หยุด เกิดการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็นกรุงเทพมหานคร และได้เป็นเขตปกครองพิเศษหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย

สงครามเก้าทัพ

เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา
สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง
ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
ทัพที่ 3 และ 4 เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
ทัพที่ 5-7 เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
ทัพที่ 8-9 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ
เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง 2 เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ คอยไปรับหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียงอาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลังมากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9 จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ
ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลกได้ แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ
ส่วนทางปักใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมืองเสร็จศึกที่ลาดหญ้าแล้ว เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักต์ใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึงทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนองถึง เมืองถลาง เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุกน้องสาว ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้ หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี) นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ เจ้าเมืองและกรมการเมืองพัทลุงพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ด้วยความขลาดจึงหลบหนีเอาตัวรอด แต่มีภิษุรูปหนึ่งนามว่าพระมหาช่วยมีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมืองพัทลุงได้ เมืองกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักต์ใต้ ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักต์ใต้แล้ว พระมหาช่วยต่อมาได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ
อื่นๆ คำพูด พระราชวังบวรสุรสีหนาท ก่อนเข้าตีค่ายพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า “ พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่าเราหวงแหนแผ่นดินแค่ไหน รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีกจนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้นชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสืบไป”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น