วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กรุงธนบุรีเเละกรุงรัตนโกสินทร์


































อาณาจักรธนบุรี





เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังจากที่อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน



ประวัติศาสตร์


การกอบกู้เอกราช
การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย"และตีได้เมืองจันทบุรีและตรา เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี


การรวมชาติและการขยายตัว
ดูเพิ่มที่
สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และ การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เองต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน
กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพะรเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี
พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี



การปกครอง
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มี
อัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วน
จตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่
กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย
กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของปร
การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี
นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ
เศรษฐกิจ
ในช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากสงครามกับพม่าอย่างหนัก มีการขาดแคลนอาหารเนื่องจากขาดการทำนามานาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์และท้องพระคลังเพื่อซื้อข้าวมาบรรเทาความอดอยากของผู้คนทั้งหลาย และยังเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านที่หนีไปอยู่ตามป่าเขากลับมาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น

สังคม
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
1.
พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
2.
พระบรมวงศานุวงศ์
3.ขุนนาง
4.ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
5.
ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบราญกันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา
วัฒนธรรม
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น
วรรณกรรม
ถึงแม้ว่ากรุงธนบุรีจะดำรงอยู่เป็นเวลาอันสั้น
วรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายถูกทำลายลง แต่ก็มีเวลาที่จะมาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2313 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชกาลพระองค์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับนี้มี 4 ตอน แบ่งออกเป็น 4 เล่ม
หลวงสรวิชิต (หน) หรือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
หลวงสรวิชิต (หน) แต่งไว้ทั้งหมด 2 เรื่อง ในสมัยกรุงธนบุรี
ลิลิตเพชรมงกุฎ แต่งระหว่างปี พ.ศ. 2310 -2322
อิเหนาคำฉันท์ แต่งปี พ.ศ. 2322
นายสวน มหาดเล็ก
โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่งเมื่อ พ.ศ. 2314
พระยามหานุภาพ
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือ นิราศกวางตุ้ง แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2324
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ดูบทความหลักที่
ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี


กรุงรัตนโกสินทร์



กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325
ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพ ทราราวดีศรีอยุธยา (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")

จุดเริ่มต้นของรัตนโกสินทร์
*กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๙ - กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙* *สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบอีกพระองค์หนึ่งของชาติไทย ที่มีอัจฉริยะภาพทางการทหารอย่างหาผู้ใดเทียมมิได้ สิบห้าปีตลอดรัชกาลทรงตรากตรำทำศึกไม่เว้นแต่ละปี หัวเมืองใหญ่น้อยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ กองทหารม้าอันเกรียงไกรของพระองค์นั้น เป็นต้นแบบในการรุกรบยุคต่อมา เป็นตัวอย่างอันดีของทหารในยุคปัจจุบันคือ ทหารต้องรู้จักคิด รู้จักพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้วยตนเอง ต้องเอาบ้านเมืองเป็นหลักเป็นที่ตั้ง ต่อให้มียศเป็นพระยานาหมื่นหากไม่มีบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ยศศักดิ์นั้นไหนเลยจะมีค่า การศึกในหลายๆครั้งกับพม่านั้น พระองค์ก็อยู่ในสภาวะที่มิต่างอะไรจากสมเด็จพระนเรศวรฯ คือมีกำลังน้อยกว่าแทบจะทุกครั้ง แต่พระองค์ก็สามารถเอาชัยได้จากพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถทางการทหาร ทรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ล้าหลัง ที่ศัตรูรู้ ที่ใครๆก็รู้ ทรงกล้าที่จะปฎิวัติความเชื่อใหม่ๆที่ทหารควรจะใช้เพื่อให้เหมาะกับสถานณการณ์ที่คับขัน การคุมพลยกแหกวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัยนั้น ถือได้ว่าเป็นทหารหนีทัพที่คิดกบฎเป็นทุรยศต่อแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้ลังเลที่จะทรงกระทำเพื่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า หากพระองค์ไม่คิดเอาบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ไหนเลยจะย้อนกลับมาเพื่อกู้กรุงในอีกแปดเดือนถัดมา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ยศศักดิ์ต่างๆที่พระองค์มีในตำแหน่งพระยาวชิรปราการ ผู้รั้งเมืองกำแพงเพชรนั้น หาได้มีความสำคัญต่อพระองค์ไม่แม้แต่น้อย ทรงรู้ดีว่า เมื่อสิ้นชาติ ยศศักดิ์ใดๆก็ไม่มีความหมาย และในพระนครนั้นก็ไม่มีขุนทหารผู้ใหญ่คนใดที่จะมีน้ำใจและกล้าหาญที่พอจะรักษาชาติไว้ได้ พระองค์จึงกระทำการอันที่ยากที่ทหารคนใดผู้ใดจะกล้าทำ*




**ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น หัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของอยุธยานั้น ต่างมิได้ทำการช่วยอยุธยารบพม่าแต่อย่างใด ต่างคนต่างตั้งตัวเป็นอิสระ นิ่งเฉยดูดายต่อชะตากรรมของพระนคร มีเพียงชาวบ้านบางระจันเท่านั้น ที่ช่วยอยุธยาต่อสู้กับพม่าในเส้นทางเดินทัพของเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าทัพที่สอง ทัพที่หนึ่งของพม่านั้นมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ทำหน้าทียกไปล้อมอยุธยาทางทิศใต้ของพระนคร ตลอดหัวเมืองรายทางของทั้งสองทัพของพม่านั้น ต่างอ่อนน้อมต่อพม่าไม่ทำการต่อสู้ ขณะนั้นกษัตริย์พม่าคือ พระเจ้ามังระ ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ เห็นอยุธยาอ่อนแอและมั่งคั่งยิ่งนัก จึงคิดจะปราบอยุธยาเพื่อให้อาณาจักรอื่นกลัวเกรงในอำนาจ จึงให้สองแม่ทัพยกพลไปตีอยุธยา เหตุที่พระเจ้ามังระทรงไม่คุมทัพมาเองเพราะรู้ดีว่าอยุธยาอ่อนแอและแตกแยก ทรงรู้ได้จากข่าวสารของไส้ศึกที่ส่งเข้าไปบ่อนทำลายและแทรกซึมในทุกวงการทุกชนชั้นของอยุธยา จึงให้เพียงแม่ทัพผู้ใหญ่ทั้งสองยกไปเองเท่านั้น ดูเอาเถิดเหตุการณ์เหมือนกรุงเทพ พ.ศ.๒๕๔๙มั้ย**
***พระเจ้าตากสินฯทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เริ่มทุกอย่างจากศูนย์ จากที่มีทหารเพียงแค่ห้าร้อยคน ทรงกระทำการจากเล็กๆเรื่อยไปจนถึงการใหญ่ซึ่งนั่นคือการ สถาปนากรุงธนบุรี ราชธานีใหม่ที่มีกองทัพกว่าสองแสนคน ไว้เป็นที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับคนไทย การเมืองการปกครองในกรุงธนบุรีในยุคเริ่มแรกนั้นร่มเย็นเป็นสุข เพราะกรุงธนบุรีมักจะเป็นฝ่ายรุกในเรื่องของการทหาร ไพร่ฟ้าประชาชนในเมืองจะปลอดภัยจากข้าศึก เพราะกองทัพของพระเจ้าตากสินฯจะยกพลไปรบในดินแดนข้าศึกเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าตากสินฯทรงมีนโยบายทางการทหารเป็นแนวเชิงรุก อาณาจักรใกล้เคียงต่างยอมอยู่ใต้เศวตฉัตร เพราะกรุงธนบุรีมีกองทัพที่เข้มแข็งและยุทธวิธีในการรบก็ไม่เหมือนใครเป็นแบบใหม่ที่ไม่อาจมีใครแก้ทางศึกได้ พระราชอาณาจักรจึงกว้างขวางยิ่งกว่าในสมัยราชธานีเดิม แม้แต่กษัตริย์มังระของพม่าก็ยังครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ ถึงกับย้ายที่ตั้งมั่นจากเมืองตองอูสลับกลับเมืองแปร เมื่อใดที่ได้ข่าวกองทัพกรุงธนบุรียกมาใกล้ ก็จะย้ายไปอยู่เมืองแปร ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปอีกในดินแดนพม่า หากเหตุการณ์ปกติก็จะประทับอยู่ที่เมืองตองอู เพราะกษัตริย์มังระของพม่าพระองค์นี้ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอู จาการที่พระเจ้ามังระของพม่านั้นเป็นนักการทหารที่มีฝีมือองค์หนึ่งของพม่ามาก่อนนั้น พระองค์ทรงรู้ดีถึงแสนยานุภาพในทางการทหารของกรุงธนบุรีว่ากองทัพพม่าของพระองค์นั้นไม่สามารถรับมือได้เพราะกองทัพพม่าใช้ช้างเป็นหลัก การวางกำลังตามแบบเบญจเสนา5ทัพของพระนเรศวรนั้นยิ่งทวีประสิทธิภาพมากเป็นทวีคูณเมื่อพระเจ้าตากสินฯทรงใช้กองทัพทหารม้าเป็นหลัก สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกองทหารปืนนกสับ การเคลื่อนกำลังพล การบำรุงรี้พลการใช้กองหนุนและหน่วยรบพิเศษบนหลังม้า เหล่านี้ล้วนแต่เป็นศาสตร์ทางทหารแบบใหม่ที่พระเจ้าตากสินฯทรงต่อยอดความรู้มาจากตำราพิชัยสงครามเบญจเสนาห้าทัพของพระนเรศวรฯทั้งสิ้น แม้แต่เวียดนาม อาณาจักรที่อยู่ห่างไกลกรุงธนบุรียิ่งนัก พระองค์ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือไปตีมาแล้ว แคว้นมลายู ปัตตานี ลานช้าง ลานนา เชียงตุง เชียงรุ้ง กองทัพกรุงธนบุรียาตราไปตีไปยึดมาแล้วทั้งสิ้น นี่คือตัวอย่างของอาณาจักรที่มีกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร ยาตราทัพไปทิศใดไพรีก็พินาศ***กรุงธนบุรีและพระเจ้าตากสินฯ เริ่มมีปัญหาในทางการปกครองจากการที่รับเอาขุนนางเก่าของอยุธยามารับราชการ ขุนนางพวกนี้รังเกียจพระองค์เรื่องสายเลือดและเชื้อชาติอยู่แล้วในใจ นานวันไปขุนนางพวกนี้มาเติบใหญ่ในทุกวงราชการ ทั้งทหารและพลเรือน เมื่อเริ่มมีอำนาจก็เข้าอีหรอบเดิมเหมือนเมื่อครั้งอยู่กรุงเก่า เริ่มแบ่งพรรคแย่งพวก เริ่มตั้งข้อเปิดประเด็นเรื่องคนจีนและขุนนางที่มีเชื้อสายจีน ทั้งๆที่คนเชื้อสายจีนอย่างพระองค์นี่แหล่ะที่ปลดแอกพม่าให้คนไทย ระบบศักดินาเก่าแบบอยุธยาเริ่มกลับมามีบทบาทแทนพ่อปกครองลูกแบบสุโขทัยที่พระเจ้าตากสินฯทรงนำมาใช้ ไม่นานความแตกแยกทางความคิดเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และเริ่มลามเข้าสู่ในกองทัพ ทหารเชื้อสายจีนในกองทัพเริ่มไม่พอใจ ขุนนางทหารเริ่มแตกแยกกันเอง เริ่มหาผู้นำที่มีบารมีและยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม ลางร้ายเริ่มปรากฎ กองทัพกรุงธนบุรีปราชัยเป็นครั้งแรกที่เมืองเขมร เพราะทหารแต่ละทัพระแวงกันเอง ไม่เร่งเดินทัพเพื่อสมทบทัพหลวงที่พระเจ้าตากสินฯทรงให้พระราชโอรสเป็นจอมทัพ ทัพต่างๆไม่บรรจบกันตามพิชัยสงครามดังที่เคยปฎิบัติ สุดท้ายเกิดกบฎที่เมืองหลวง นำโดยพระยาสรรค์ ขุนนางอยุธยาเก่าเชื้อสายไทยแท้ๆที่พระเจ้าตากสินทรงนำมาชุบเลี้ยง จนเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องยกทัพกลับจากเขมรมาปราบปราม และปราบดาภิเศกเป็นปฐมราชวงศ์จักรี หมดสิ้นยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา****

ลักษณะการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์
การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปกครอง คือ




  1. มูลเหตุที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครอง


  2. การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง


  3. การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค


  4. การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น


  5. การปกครองระบอบประชาธิปไตย


  6. ลักษณะการปกครองตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว


  7. ลักษณะการปกครองตามธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475


  8. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน


สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยรัตนโกสินทร์
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้องผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัวเรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้ามามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง ถิ่นต่าง ๆ
ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะบ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ยหวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้นนับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มาเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้ เพิ่มมากขึ้น
รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้
1. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดินประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช
2. ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาลค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
3. อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 4 รูปแบบ คือ ส่งเป็นผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น
5. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ 4 ส่วนภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า
จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุกด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภทแรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าค้าของราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ เก็บตามอัตราขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ"
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ การ เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือในการชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อนเพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศทางตะวันตก













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น